ข้อคิดการออกแบบไฟฟ้าแสงสว่าง

วรภัทร อังสนันรัตนา
Light Solutions เพราะแสงไฟไม่ได้ทำหน้าที่ส่องสว่างอย่างเดียว แต่ยังสร้างบรรยากาศดีๆ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำงานอีกด้วย
  1. เลือกดวงโคมให้ตรงกับการใช้งาน แทนที่จะวางตำแหน่งโคม ให้แสงสว่างกระจายไปทั่วบริเวณ อาจจะเลือกให้แสงสว่างเฉพาะในบริเวณที่ต้องการความสว่างสูง เช่น บริเวณโต๊ะทำงาน โดยให้แสงสว่างบริเวณอื่นลดลง วิธีนี้จะช่วยลดภาระไฟฟ้าแสงสว่างต่อพื้นที่ห้องลงได้มาก แต่ควรต้องระวังไม่ให้ความสว่างในแต่ละพื้นที่ต่างกันมากเกินไป จะทำให้สายตาปรับสภาพได้ยาก
  2. แยกวงจรไฟฟ้าให้เหมาะสม ควรออกแบบการแยกวงจรไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยออกแบบให้บริเวณที่ต้องการใช้แสงสว่างเหมือนกัน เช่น ดวงโคมที่ใช้งานในช่วงเวลาเดียวกันอยู่ในวงจรเดียวกัน เพื่อช่วยลดจำนวนดวงโคมที่ไม่ได้ใช้งานลง
  3. ใช้แสงประดิษฐ์ร่วมกับแสงธรรมชาติ การใช้แสงธรรมชาติเข้ามาในบ้านจะทำให้ลดการใช้งานแสงประดิษฐ์ ในพื้นที่ที่แสงธรรมชาติเข้ามาถึง ควรแยกวงจรสวิตซ์ที่อยู่แนวหน้าต่างออกมาต่างหาก เพื่อปิดการใช้งานในเวลาที่ใช้แสงธรรมชาติแทนแต่ต้องคำนึงถึงเรื่องความร้อน ที่เข้ามาด้วย
  4. ลดช่วงเวลาการใช้งานด้วยอุปกรณ์ไฮเทค เช่น ใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวในการเปิด-ปิดไฟ แทนการใช้สวิตซ์ในส่วนที่ไม่ต้องการเปิดตลอดเวลา หรือการใช้สวิตซ์ตั้งเวลาเปิด-ปิดสำหรับส่วนที่มีช่วงเวลาเปิด-ปิดไฟที่แน่ นอน เช่น สวนนอกบ้าน เพื่อช่วยลดช่วงเวลาที่ไม่ได้ใช้งานลง
  5. เลือกใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง ควรเลือกใช้หลอด ประหยัดพลังงานที่ให้ความสว่างเท่ากันหรือมากกว่า แต่ใช้วัตต์น้อยลง และเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น อิเล็กทรอนิกส์บัลลาสต์ นอกจากนี้ควรเปลี่ยนอุปกรณ์ตามอายุการใช้งาน เนื่องจากหลอดไฟหากใช้งานใกล้หมดอายุ ประสิทธิภาพจะลดลงมาก แต่กินไฟเท่าเดิม และหมั่นทำความสะอาดดวงโคมเป็นประจำก็จะช่วยให้ดวงโคมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และสว่างขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งาน

0 ความคิดเห็น :