การย้ายต้นไม้

การย้ายต้นไม้ต้องได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ พวกเขามิใช่แต่เพียงแค่รู้  ต้นไม้ชนิดต่างๆ และอุปนิสัยโดยตามธรรมชาติ  วิธีการย้ายต้นไม้ ขนาดของต้นไม้ ตลอดจนหลังการเคลื่อนต้นไม้ การพักฟื้นของต้นไม้ แต่ต้องคำนึงถึงความถูกต้อง ความมีประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายในกรณีเป็นต้นไม้ใหญ่  โดยผู้เชี่ยวชาญ บริการย้ายต้นไม้

การย้ายต้นไม้จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน
1. เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งจากเดิมซึ่งอาจมีสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมเนื่องจาก
- ปลูกชิดตัวบ้านมากเกินไปส่งผลให้ต้นไม้เอนมีรูปทรงไม่สวยงาม
- บริเวณที่ปลูกได้รับแสงไม่เพียงพอทำให้ต้นไม้ไม่ออกดอก
- สภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมทั้งดินขาดธาตุอาหาร ดินแน่นส่งผลให้เกิดอาการแคระแกร็น รวมไปถึงระดับน้ำใต้ดินสูง น้ำท่วม มีผลทำให้รากชะงักการเจริญเติบโต รากขาดออกซิเจน
- ใช้ที่ดินเดิมทำประโยชน์ด้านอื่น เช่น ต่อเติมบ้าน สร้างโรงรถ ขุดบ่อน้ำ

2. เพื่อฟื้นฟูหรือให้ต้นไม้ที่เริ่มชะลอการเติบโตและออกดอก โดยย้ายไปอนุบาลดูแลในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ได้รับน้ำและแร่ธาตุสมบูรณ์ ทำให้ต้นไม้นั้นกลับมาเจริญเติบโตดี และออกดอกออกผลอีกครั้ง วิธีการนี้นิยมใช้กับไม้พุ่มที่ต้องมีการบังคับให้ออกดอกตลอดปี เช่น กุหลาบ
การขุดบอลล์ต้นไม้ มี 2 แบบ
1. แบบที่ไม่มีดินติดราก ( Bare root ) ที่เราเห็นได้ชัดเจน ก็คือ กุหลาบ ถ้าทำการขุดย้ายมาปลูกโดยไม่มีดินติดรากมาด้วย เมื่อนำมาปลูกจะตัดแต่งกิ่งออกให้เหลือแต่ต้นตอซึ่งสูงประมาณ 1 คืบ (จากโคนต้น ) เพื่อกันการระเหยของน้ำภายในลำต้น ก่อนปลูกควรละลาย ยาป้องกันเชื้อรา ราดต้นต่อเหล่านั้น ซึ่งจะทำเป็นประจำถ้าทำการย้ายต้นกุหลาบไปปลูกยังที่อื่นๆ เมื่อนำไปปลูกลงพื้นดินแล้วในช่วงระยะแรกๆ ควรพรางแสงให้และหมั่นรดน้ำให้ความชุ่มชื้นเพื่อทำให้ต้นไม้ตั้งตัวได้เร็วขึ้น

2. แบบที่มีดินติดราก หรือมีสิ่งห่อหุ้ม ( Balling and Burlapping ) โดยทั่วไปจะเรียกว่า การขุดบอลล์ต้นไม้ ซึ่งนิยมใช้กับต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่เป็นต้นไม้ที่ให้ร่มเงา ซึ่งเราแบ่งการขุดบอลล์ต้นไม้ออกได้เป็น 2 แบบด้วยกันคือ
ก. ขนาดของต้นไม้ ที่มีเส้นผ่าศูยน์กลาง 1- 6 นิ้ว เราจะตัดแต่งกิ่งออกเพียงเล็กน้อย เมื่อทำการขุดย้ายไปแล้วจะมีเปอร์เซ็นต์การรอกตายสูงและสามารถเจริญเติบโต แตกกิ่งก้านสาขาได้เต็มที่
ข. ขนาดของต้นไม้มีเส้นผ่าศูยน์กลาง เกิน 6 นิ้วขึ้นไป เมื่อทำการขุดย้ายเราจะตัดแต่งกิ่งออกไปจนเหลือแต่กิ่งโครงสร้างหลัก ซึ่งการขุดบอลล์ต้นไม้แบบนี้ถ้าทำการขุดย้ายไม่ดี จะทำให้มีเปอร์เซ็นต์การตาย สูงกว่า แบบ ก และเมื่อปลูกติดแล้วจะไม่สามารถเจริญเติบโตแตกกิ่งก้านได้เหมือนเดิม…

ที่จะนำมาฝากในวันนี้ เป็นการ ขุดบอลล์ต้นไม้ แบบ ข ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีขนาดเส้นผ่าศุยน์กลาง เกิน 6 นิ้วขึ้นไป

เครื่องมือที่ขุดบอลล์ต้นไม้
1. จอบ ใช้ขุดเพื่อเปิดบริเวณหน้าพื้นดิน
2. เสียมขุดที่มีความคม มีน้ำหนัก และจับถนัดมือ นิยมทำมาจากแหนบรถยนต์
3. เลื่อย ขวาน กรรไกรตัดแต่งกิ่ง
4. ปูน หรือ สีน้ำมันที่ใช้ทารอยแผลที่เกิดจากการตัดแต่งกิ่ง
5. กระสอบปาน ถุงปุ๋ย หรือตาข่ายพลาสติก พร้อมด้วยเชือกฟาง เข็มเย็บกระสอบ สำหรับใช้มัดหุ้มตุ้มดินต้นไม้ที่เราขุดขึ้นมา
6. ตาข่ายพลาสติก ผืนขนาดใหญ่ใช้คลุมต้นไม้ขณะทำการขนย้าย เพื่อช่วยลดการระเหยของน้ำภายในลำต้น

ขั้นตอนการขุดบบอลล์ต้นไม้
1. ตัดแต่งกิ่งและใบออกให้ เพื่อช่วยลอดการระเหยของน้ำภายในลำต้น ให้เหลือแต่กิ่งโครงสร้างหลักๆ…เท่านั้น เครื่องมือการตัดแต่งกิ่งที่ ทีมขุดพกติดตัวขึ้นไปด้วยนั้น ที่ทั้ง กรรไกรตัดแต่งกิ่ง เลื่อย และเชื่อก สำหรับมัดกิ่งไม้ที่ตัดและค่อยๆผ่อนให้ตกลงถึงพื้นเพื่อไม่ให้ต้นไม้ด้าน ล่างเสียหาย

2. ใช้จอบขุดให้ห่างจากโคนต้นไม้มาประมาณ 1 คืบ ( นู๋เล็กกะจาก ปลายนิ้วชี้ ชี้ติดโคนต้นไม้มาถึง ปลายนิ้วหัวแม่มือ ) นั่นคือขนาดความกว้างของตุ้มดินที่จะขุด  เมื่อขุดลึกลงไปพบรากแขนง และรากแก้วแล้ว ให้ใช้ ขวาน เสียม หรือ เลื่อย ตัดรากให้ขาดจากกัน หลังจากนั้นขุดช้อนลึกลงไปพบรากแก้ว (ซึ่งอาจจะมีความลึก ที่ 0.5 – 1 เมตร ) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของต้นไม้  เมื่อขุดบอลล์ต้นไม้ ตลอดจนแต่งรอบตุ้มดินได้ดังภาพแล้ว เราจะเอนต้นลงเพื่อ แต่ง ฐานของตุ้นดินด้านล่าง

3. ใช้ตาข่ายพลาสติกห่อหุ้มตุ้มดิน และ เย็บมัดตุ้มดินด้วยเชือกฟางให้แน่น โดยการตัดตาข่ายพลาสติก ให้เป็นลักษณะ สี่เหลี่ยมผืนผ้า เรากะได้ง่ายๆดังนี้ คือ วัดเส้นรอบวงของตุ้นดินเป็นเท่าไหร บวกความยาวเผื่อเข้าไป 5 นิ้ว และวัดความกว้างของตุ้มดินได้เท่าไหร่ บวกเข้าไปอีก 5 นิ้ว เช่นกัน และทำการเย็บหุ้มตุ้มดินด้านบนก่อน  เมื่อเวลาเย็บรอบตุ้มดิน เราจะพยายามหุ้มตาข่ายพลาสติกให้แนบแนนรอบตุ้มเพื่อกันไม่ให้ตุ้มดินแตก ถ้าตุ้นดินเกิดแตกขึ้นมา นั่นหมายถึงว่า ระบบรากรอบๆตุ้นก็ฉีกขาดไปด้วย ต้นไม้จะเจริญเติบโตช้าเข้าไปอีก หรือร้ายแรงกว่านั้น คือ ต้นไม้อาจตายได้ในเวลาต่อมา

4. ต้นไม้ต้นนี้ จะนำไปปลูกเลย ไม่ได้นำไปตั้งวางพักฟื้นไว้ เพราะฉะนั้นเราจะไม่หุ้มรอบตุ้มด้วยขุยมะพร้าวอีกชั้นเพิ่อเก็บรักษาความ ชุ่มชื้น แตถ้าจะนำไปวางพักไว้ เราจะยัดขุยมะพร้าวป่นรอบๆตุ้มดินอีกทีหนึ่ง

5. หลังจากนั้นเราจะเย็บปิดก้นตุ้มดิน โดยเอียงลำต้นลงไป แต่ห้ามให้ต้นไม้นอนราบในระดับเดียวกับพื้นดินเด็ดขาด

ขั้นตอนการขนย้ายต้นไม้นั้นขึ้นอยู่กัยสถานที่ และขนาดของต้นไม้ ในกรณีที่ สถานที่ ที่ขุดบอลล์ต้นไม้เป็นที่แคบๆเราจะใช้แรงงานคนในการขนย้ายเช่นนี้ แต่ถ้าสามารถนำรถยกเข้าไปช่วยผ่อนแรงได้

ดำเนินการขนย้ายไปปลูก หรือนำไปพักในที่ร่มรำไร
- รดน้ำให้ชุ่มชื้น นู๋เล็กนิยมใช้ สาร บีวัน ละลายน้ำตามสัดส่วน รดรอบๆ โคนต้นไม้ที่ ขุดบอลล์ เพื่อช่วยให้ระบบรากแข็งแรงโดยเร็วขึ้น

การเตรียมหลุมปลูก จะต้องเตรียมหลุมปลูกให้กว้างและลึกเพียงพอ เตรียมวัสดุปลูกและทดสอบการซึมน้ำให้แล้วเสร็จล่วงหน้า หากดินอ่อนมากอาจจะต้องใช้เสาเข็มหรือวางไม้หมอนยาวหลายๆอันที่ก้นหลุม เพื่อรองรับน้ำหนักต้นไม้แล้วกลบด้วยทรายหยาบ หนา 15-30 ซม. ป้องกันการทรุดตัว หรือทำให้ต้นไม้เอียง
การปลูก อาจยกต้นไม้ในตำแหน่งเดิมที่ยกต้นไม้ขึ้นรถบรรทุก นำต้นไม้วางลงบนพื้นดินก่อนปลูก หรือหากเปลี่ยนตำแหน่ง ต้องหุ้มลำต้นด้วยกระสอบป่านและตีทับด้วยไม้เนื้ออ่อน เช่นเดียวกับตำแหน่งแรกเสียก่อน เพื่อป้องกันการเกิดบาดแผล

อนึ่ง สถานที่ควรพิจารณารูปทรงและทิศทางของกิ่ง ให้ทรงพุ่มหมุนไปในทิศทางและมุมมองที่สวยงาม แล้วจึงกลบหลุมด้วยทรายหยาบผสมปุ๋ยหมักจนเต็มหลุม พร้อมกับรดน้ำและเหยียบย้ำรอบตุ้มดินให้แน่น เพื่อป้องกันการเกิดโพรงในหลุม แล้วจึงคลุมโคนด้วยใบไม้แห้ง ฟาง หรือวัสดุคลุมดิน เพื่อรักษาความชื้นในดิน
ติดตั้ง Sprinkler บนเรือนยอดเพื่อการให้น้ำบนเรือนยอด แทนการให้น้ำโคนต้น วันละ 2-5 ครั้ง การให้น้ำจะต้องหมั่นตรวจสอบไม่ให้น้ำจนชื้นแฉะเกินไป

ในกรณีมีน้ำท่วมขังโคนต้นภายหลังการปลูก อาจทำการขุดหลุมชิดกับหลุมปลูก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80-100 ซม. ลึกถึงก้นหลุมหรือเล็กกว่า 20-30 ซม. กรุด้วยตาข่ายเพื่อป้องกันดินไหลเข้าไปในหลุม คอยตักน้ำทิ้งอย่างสม่ำเสมอจนกว่าต้นไม้เจริญเติบโต แข็งแรงและตั้งตัวได้ ถ้าไม่ปรากฏน้ำในหลุมจึงค่อยกลบหลุม
ข้อควรระวังที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ อย่าใช้ดินที่ค่อนข้างเหนียว ซึ่งขุดขึ้นมาจากหลุมปลูกมากลบโคนต้นไม้อย่างเด็ดขาด เพราะจะเกิดปัญหาของการซึมของน้ำลงสู่ระบบรากของต้นไม้และอาจเกิดโพรงดินขึ้นในหลุมทำให้รากเน่าได้

การดูแลหลังการย้ายต้นไม้
ต้นไม้ที่ขุดย้ายไปปลูกในที่ใหม่ ระยะแรก ๆ รากอาจจะกระทบกระเทือนบ้าง จึงควรกลบดินให้ค่อนข้างแน่น รดน้ำให้ชุ่ม ทำหลักยึดประคองลำต้นให้แข็งแรง ป้องกันมิให้ลำต้นโยกเวลาลมพัด อาจต้องตัดแต่งใบหรือกิ่งบ้างตามสมควร เมื่อจำเป็น

ในกรณีที่ดินแตกแยกระหว่างขุดหรือย้ายก็ดี รากจะได้รับการกระทบกระเทือน ต้องตัดแต่งกิ่งออกให้มาก เพื่อให้โอกาสต้นไม้ฟื้นตัวเร็ว

หน้าฝนเป็นโอกาสเหมาะที่จะปลูกย้ายต้นไม้ใหม่ เพราะดินชุ่มชื้น อากาศมีความชื้นสูงกว่าฤดูอื่น ต้นไม้ตั้งตัวเร็ว ประหยัดแรงงานในการรดน้ำ แต่ต้องระวังนิดหนึ่งในการย้ายไม้หน้าฝน เพราะถ้าฝนตกน้ำระบายไม่ได้ โอกาสที่ต้นไม้ปลูกใหม่จะจมน้ำตายก็มีมากเหมือนกัน หากว่าฝนตกชุกก็ควรปลูกให้ตื้น ให้ระดับโคนต้นไม้ใหม่สูงมาจากแนวเดิมเล็กน้อย กะว่าน้ำไม่ท่วมรากก็ใช้ได้

การย้ายต้นไม้โดยใช้เครื่องจักร เครื่องขุดย้ายต้นไม้แบบกึ่งอัตโนมัติ

ปัจจุบันการขุดล้อมและย้ายปลูกต้นไม้ต้องใช้เทคนิคและความชำนาญโดยเฉพาะ โดยการใช้ “จอบ” ขุดรอบๆต้นไม้ แล้วใช้ “พลั่วหรือเสียม” แซะดินโดยรอบๆ หรือ”เสียม” ขุดแทงดินหลายๆครั้ง เพื่อตัดรากที่ยึดดิน หลังจากขุดเสร็จ ต้องยกต้นไม้พร้อมกับตุ้มดิน (ดินที่ติดอยู่บริเวณราก) ขึ้นมาจากพื้นดิน โอกาสที่ดินจะแตกและหลุดออกจากรากก็มีมาก ทำให้รากเกิดการฉีกขาด เมื่อนำไปปลูกจะส่งผลให้ต้นไม้เจริญเติบโตช้า หรืออาจจะชะงัก และตายไปในที่สุด ดังนั้นกว่าจะขุดต้นไม้ได้แต่ละต้นต้องใช้เวลานาน และใช้แรงมาก ทำให้เกิดความเหนื่อย และเมื่อยล้า ไม่สามารถทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานานได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับเกษตรกรผู้ขายต้นไม้ นักจัดสวน และปรับปรุงภูมิทัศน์

การขุดล้อมต้นไม้ของนักจัดสวนโดยทั่วไปยังไม่มีการกำหนดขนาดที่เป็นมาตรฐาน ต้นไม้ถูกขุดล้อมจึงมีขนาดของตุ้มดินไม่เท่ากัน จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และความถนัดของผู้ที่ทำการขุดล้อม สำหรับกรณีการขุดล้อมและย้ายปลูกต้นไม้สำหรับการจัดสวน หลุมที่ขุดปลูกจึงต้องปรับให้มีขนาดให้เท่ากับตุ้มดินด้วย จึงทำให้ต้องเสียเวลาในการปรับแต่ง และปรับขนาดของหลุมขุดปลูกให้มีขนาดเท่ากับตุ้มดิน

จะเห็นได้ว่าหากมีอุปกรณ์ทุ่นแรงที่สามารถขุดหลุมปลูก ขุดต้นไม้ และเคลื่อนย้ายต้นไม้ไปในตำแหน่งที่ต้องการโดยใช้เครื่องจักรกลเข้าช่วยได้ จะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ขายต้นไม้ นักจัดสวนและปรับปรุงภูมิทัศน์ให้มีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีขึ้นได้ รวมทั้งเป็นการลดต้นทุนด้านแรงงาน และลดเวลาในการทำงานด้วย ดังนั้นเครื่องขุดย้ายต้นไม้แบบกึ่งอัตโนมัติจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อปัญหาที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
more info ภาควิชาเกษตรกลวิธาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
source:  kasetporpeang.com

0 ความคิดเห็น :